สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์
วิสัยทัศน์
“โรงเรียนคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามาตรฐาน บนพื้นฐานความเป็นไทยภายใต้ศาสตร์พระราชา”
- พันธกิจ
2.1 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และดำเนินแนวทางตามศาสตร์พระราชา
2.2 ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการประสิทธิภาพการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
2.3 ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ มีสมรรถนะ ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษา ให้สอดคล้องกันแผนพัฒนาผู้เรียน
2.4 จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริม สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ ให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีความรู้ ทักษะวิชาการ วิชาชีพ ทักษะชีวิต ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
2.5 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีความรู้คู่คุณธรรม รักท้องถิ่นและบนพื้นฐานความเป็นไทย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง
2.6 ส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแบบบูรณาการตามหลักธรรมาภิบาล
- เป้าประสงค์รวม/เป้าหมายและค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัดรวม
3.1 ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น ซื่อสัตย์ สุจริต มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม มีความรักและความภูมิใจในความเป็นไทย ตามแนวทางศาสตร์พระราชา
3.2 ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตามศักยภาพ ให้เป็นผู้มีสมรรถนะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3.3 ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ มีสมรรถนะ ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษา ให้สอดคล้องกันแผนพัฒนาผู้เรียน มีจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพรวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นครู
3.4 โรงเรียนมีการบริหารงานจัดการองค์กร ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในทุกมิติ สร้างนวัตกรรมและวิจัย จัดระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน อย่างมีคุณภาพ
3.5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ มีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับบริบท ตามหลักธรรมาภิบาล อย่างมีประสิทธิภาพ
- ประเด็นยุทธศาสตร์/กลยุทธ
4.1 บริหารจัดการด้านความปลอดภัย ในสถานศึกษาและสำนักเขตพื้นที่การศึกษา
4.2 พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐาน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐาน ความเป็นไทย ภายใต้ศาสตร์พระราชา
4.3 สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา อย่างมีคุณภาพ
4.4 สร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4.5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
- ตัวชี้วัดตามกลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ถ้ามี)
กลยุทธ์ที่ 1 บริหารจัดการด้านความปลอดภัย ในสถานศึกษาและสำนักเขตพื้นที่การศึกษา
ตัวชี้วัดตามกลยุทธ์
- ร้อยละของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียนที่มีความรู้ความเข้าใจในภัยทุกรูปแบบ
- ร้อยละของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียน มีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ
- ร้อยละของสถานศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่มีความปลอดภัย
- ร้อยละของสถานศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อจัดการความปลอดภัยทุกรูปแบบ
- ร้อยละของสถานศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ดำเนินการตามมาตรการและมีแผนเผชิญเหตุจากภัยทุกรูปแบบ
- ร้อยละของสถานศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน โดยผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 2. พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานความเป็นไทย ภายใต้ศาสตร์พระราชา
ตัวชี้วัดตามกลยุทธ์
- ร้อยละของผู้เรียน ได้รับการส่งเสริมความรักและการธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นในการปลูกฝังแนวคิด การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
- 2. ร้อยละของผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป
- 3. ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการคัดกรองพหุปัญญารายบุคคล
- 4. ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการส่งเสริม/พัฒนาพหุปัญญารายบุคคล
- 5. ร้อยละของผู้เรียนได้รับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง
ศตวรรษที่ 21
- ร้อยละของผู้เรียนสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการ
จัดการเรียนรู้ สื่อการสอนที่มีคุณภาพสูง
- คะแนนเฉลี่ย PISA ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน
ไม่น้อยกว่า 465 คะแนน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
- ร้อยละของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ได้รับ การส่งเสริมความรักและ
การธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นในการปลูกฝังแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ร้อยละของครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนแบบถักทอความรู้
ทักษะ เจตคติค่านิยม และคุณลักษณะผู้เรียนเข้าด้วยกัน
- ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning)
- ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ได้รับการพัฒนาให้มี สมรรถนะด้านภาษาและความรู้พื้นฐานด้านดิจิทัล
- 12. ร้อยละของสถานศึกษานำพระบรมราโชบายของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
- ร้อยละของสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนพหุปัญญา
- ร้อยละของสถานศึกษาจัดให้มีการพัฒนาทักษะ ด้านอาชีพแก่ผู้เรียน
- ร้อยละของสถานศึกษาสร้างการเข้าถึงแพลตฟอร์ม การเรียนรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับ
กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน ที่มีคุณภาพสูง
- ร้อยละของสถานศึกษา ดำเนินการเพิ่มและยกระดับ ให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนของนักเรียน ทุกระดับชั้น
- ร้อยละของสถานศึกษา ดำเนินการเพิ่มและยกระดับการอ่าน การคิดวิเคราะห์
และการเขียน
- ร้อยละของสถานศึกษา ที่มีคะแนนผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
- ร้อยละของสถานศึกษามีการดำเนินการเพิ่มและยกระดับผล การทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6
- 20. ร้อยละของสถานศึกษา มีการดำเนินการเพิ่มและยกระดับทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ
และสื่อสารภาษาที่ 3 ของนักเรียน
- ร้อยละของสถานศึกษามีการดำเนินการเพิ่มและยกระดับทักษะ ด้าน Digital Literacy ที่มี
การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียน
- ร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับการประเมิน ได้เตรียมความพร้อม (ด้านการอ่าน
คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ในการประเมินระดับนานาชาติตามโครงการ PISA ให้แก่นักเรียน
- ร้อยละของสถานศึกษา มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น ตอบสนองต่อความถนัดและ
ความสนใจของผู้เรียน
- ร้อยละของสถานศึกษา มีระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการ เรียนรู้ของผู้เรียน
(Assessment For Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personal Learning)
- ร้อยละของสถานศึกษาที่เสริมสร้างศักยภาพด้านการประเมินให้กับครูผู้สอน ให้สามารถ
สร้างและใช้เครื่องมือประเมินสมรรถนะความฉลาดรู้ของผู้เรียน ด้านการอ่าน ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ในระดับชั้นเรียน เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้
- ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมพัฒนาด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม ความกตัญญู
จิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม เสียสละ กล้าหาญ ชาญฉลาด
- ร้อยละของสถานศึกษามีหลักสูตรท้องถิ่น
- ร้อยละของสถานศึกษามีการสอนด้านประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม
- ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษา/จัดกิจกรรมดำเนินการตามศาสตร์พระราชา
- ร้อยละของโรงเรียนคุณภาพได้รับการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา
- ร้อยละของสถานศึกษาดำเนินการแก้ไขภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน
(LEARNING LOSS)
- ร้อยละของสถานศึกษา นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษา
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดกิจกรรมดำเนินการตามศาสตร์พระราชา
กลยุทธ์ที่ 3 สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา อย่างมีคุณภาพ
- ร้อยละของผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
ตามความถนัด และความสามารถ ตามหลักการพหุปัญญา
- ร้อยละของผู้เรียนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและป้องกันการหลุดออกจากระบบรวมทั้ง
ช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันและเด็กพิการที่ค้นพบจากการปักหมุด บ้านเด็กพิการให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
- 3. การออกกลางคันของผู้เรียนไม่เกินร้อยละ
- ร้อยละของเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสเข้าถึงบริการ ทางการศึกษาหรือ พัฒนา
สมรรถภาพที่เหมาะสม ตามความจำเป็น
- ร้อยละของสถานศึกษามีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและมีคุณภาพ
- ร้อยละของสถานศึกษามีการจัดทำแผนจัดชั้นเรียนรายปี
- ร้อยละของสถานศึกษามีแนวทางการจัดการศึกษา โดยยึดหลักการ เรียนรู้ตลอดชีวิตและ
การมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
กลยุทธ์ที่ 4 สร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษา/จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักรู้
ในเรื่องอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ร้อยละของสถานศึกษามีจัดการศึกษา/จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักรู้
ในเรื่องการจัดการขยะ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดกิจกรรมเกี่ยวกับ การสร้างความตระหนักรู้
ในเรื่องอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดกิจกรรมเกี่ยวกับ การสร้างความตระหนักรู้ในเรื่อง
การจัดการขยะ
กลยุทธ์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
- ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ได้รับการช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน
- ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะ
ด้านภาษาและความรู้พื้นฐาน ด้านดิจิทัล และสมรรถนะในทุกด้าน
- ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะ
ตามมาตรฐานวิชาชีพทุกช่องทาง อย่างน้อย 2 หลักสูตร
- ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะ
ทักษะดิจิทัล สามารถใช้ในการปฏิบัติงานได้
- ร้อยละของผู้บริหาร ครูและบุคคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะทักษะ
ด้านภาษา
- ร้อยละของสถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประกันคุณภาพภายใน
- ร้อยละของระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- 8. ร้อยละของสถานศึกษามีและใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
- 9. ร้อยละของสถานศึกษามีและใช้ระบบบริหารจัดการ ที่เป็นระบบ ดิจิทัล 4 ด้าน
(บริหารทั่วไป / บุคลากร / งบประมาณ / วิชาการ)
- ร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับ การขยายผลการบริหารจัดการที่เป็นดิจิทัลที่เป็น
รูปแบบเดียวกัน ของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ร้อยละของสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ที่นำไปใช้ประโยชน์ใน
หน่วยงานหรือชุมชนท้องถิ่น
- ผลคะแนนการประเมินสถานะของหน่วยงาน ในการเป็นระบบราชการ 4.0
(PMQA 4.0) ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไม่น้อยกว่า 4.50 คะแนน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านเกณฑ์การติดตาม ประเมินผลการบริหารและ
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ระดับดีมากขึ้นไป)
- การประเมินตัวชี้วัดตามมาตรฐานการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (KRS) ไม่น้อยกว่า 4.88 คะแนน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ
ดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ITA Online) ในระดับไม่ต่ำกว่า AA (ร้อยละ 95.00)
- ระดับของคะแนนภาพรวมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ของสถานศึกษาออนไลน์ (ITA Online) ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับไม่ต่ำกว่า A (ร้อยละ 85.00)
- ร้อยละของระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการจัดการศึกษาของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- 18. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีและใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีและใช้ระบบ บริหารจัดการที่เป็นระบบ ดิจิทัล 4 ด้าน
(บริหารทั่วไป / บุคลากร / งบประมาณ / วิชาการ)
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีและใช้ระบบบริหารจัดการที่เป็นระบบดิจิทัล 4 ด้าน
(บริหารทั่วไป / บุคลากร / งบประมาณ / วิชาการ) ระบบดิจิทัลเดียวกัน เชื่อมโยงกัน
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับการขยายผล การบริหารจัดการที่เป็นดิจิทัลที่เป็น
รูปแบบเดียวกัน ของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการใช้จ่ายงบประมาณ ได้ตามมาตรการเบิกจ่ายเงิน
งบประมาณของรัฐ
- 23. ร้อยละกลุ่มงาน/หน่วยงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีผลการปฏิบัติ ที่ดี
(Best Practices) ที่นำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานหรือชุมชนท้องถิ่น