FAQs เงินเดือนค่าจ้าง
A: กรอกแบบฟอร์มขอเปลี่ยนแปลงเลขบัญชีเงินฝากธนาคารในระบบจ่ายตรงเงินเดือน(มีไฟล์แนบ)
A: กรอกแบบฟอร์มขอแก้ไขรายการในระบบ e-Money(มีไฟล์แนบ)
A: สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญสามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่มได้ด้วยตนเองผ่าน My GPF Application (มีไฟล์แนบ)
A: ผู้กู้ติดต่อกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาโดยกรอกแบบขอรับเงินคืนกรณีหน่วยงานหักเงินเกินนำจัดส่งหลักฐาน ให้กับกองทุนฯ ได้ 2 ช่องทาง ดังนี้ (เลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่งเท่านั้น) มีไฟล์แนบ
1.จัดส่งเป็นไฟล์ PDF เข้ามาที่ e-mail : slf-debt@studentloan.or.th หรือ
2.จัดส่งตามที่อยู่กองทุนฯ
เรียน ฝ่ายบริหารหนี้ 2 กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา เลขที่ 89 อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ชั้น 5-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
FAQs สวัสดิการเกี่ยวกับค่าการศึกษาบุตร
A: ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่กค 0422.3/ว 257 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559 เรื่อง ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน (มีไฟล์แนบ)
A: หลักการตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่กค 0422.3/ว 257 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559 เรื่อง ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน มีสาระสำคัญ คือ ทุกรายการค่าใช้จ่ายหากสถานศึกษาได้รับอนุมัติให้เรียกเก็บได้ก็สามารถนำรายการดังกล่าวมาเบิกจากทางราชการได้ภายใต้อัตราที่กำหนด
A: การเบิกค่าปรับการชำระเงินล่าช้า ถ้ามีระบุไว้ตามประกาศของสถานศึกษาของทางราชการและสถานศึกษาของเอกชน ก็จะสามารถนำมาเบิกได้
A: ค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจมีอำนาจเรียกเก็บตามพระราชบัญญัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบโรงเรียนนายร้อยตำรวจว่าด้วยหลักเกณฑ์การเรียนซ้ำชั้น ถอนทะเบียน พ้นสภาพ และการชดใช้ทุนการศึกษาของนักเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาจึงถือเปนเงินบำรุงการศึกษา ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ผู้มีสิทธิจึงสามารถนำใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากทางราชการได้
A: กรณีเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาในหลักสูตรระดับชั้นการศึกษาเดียวกันโดยไม่ซ้ำปีการศึกษาหากได้เบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากทางราชการไปแล้วก็สามารถนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในหลักสูตรและระดับชั้นการศึกษาเดียวกัน มายื่นขอใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการจากทางราชการได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นคนละปีการศึกษาและอายุไม่เกิน 25 ปี
A: ในกรณีที่ได้รับใบเสร็จรับเงินแล้ว แต่เกิดสูญหาย ให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งผู้รับเงินรับรอง เป็นเอกสารประกอบการขอเบิกเงินแทนได้ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินคลัง พ.ศ. 2562 ข้อ 48 วรรคสอง
FAQs สวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล
A: กรณีการเขารับการการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน
- ให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว แจ้งความประสงค์ต่อโรงพยาบาลฯ ให้จัดทำเอกสารเพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการ
- โรงพยาบาลฯ จะจัดทำแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ให้กับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน นับแต่สิ้นสุดการรักษาพยาบาลในครั้งนั้น
- ให้ผู้มีสิทธิยื่นขอใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลพร้อมแนบแบบฟอร์มฯ
- ให้ส่วนราชการต้นสังกัดระดับกรมขอทำความตกลงมายังกรมบัญชีกลางพร้อมแบนแบบฟอร์มฯ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการพิจารณาขอทำความตกลงและหากไม่แนบเอกสารดังกล่าวกรมบัญชีกลางจะส่งเรื่องคืน เพื่อให้ส่วนราชการจัดทำเอกสารให้ครบถ้วน และขอทำความตกลงมายังกรมบัญชีกลางอีกครั้ง
- กรมบัญชีกลางจะเป็นผู้พิจารณาการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว. 112 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2554 และแจ้งส่วนราชการทราบต่อไป
A: อ้างอิงหนังสือ กค 0422.2/ว 118 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2554
ซึ่งหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย คือ
- คนไข้ใน เบิกได้ทั้งหมด ถ้าเป็นในรายการแนบท้ายเบิกได้ในอัตรานั้น แต่นอกเหนือจากรายการแนบท้าย เบิกตามสถานพยาบาลเรียกเก็บในหมวดของเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
- คนไข้นอกที่ใช้ใน ร.พ.ถ้าเป็นในรายการแนบท้ายเบิกได้ในอัตรานั้น แต่นอกเหนือจากรายการแนบท้าย เบิกตามสถานพยาบาลเรียกเก็บ แต่ใบเสร็จต้องมีการระบุให้ชัดเจนว่ารายการใดที่ใช้ใน ร.พ.
- คนไข้นอกกลับบ้าน เบิกได้เฉพาะรายการที่อยู่ตามแนบท้าย (มีไฟล์แนบ)
A: อัตราค่าห้องกับค่าอาหารเป็นห้องสามัญ 400 บาท และ ห้องพิเศษ 1,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2557 ตามหนังสือเวียน กค 0422.2/พิเศษ ว 2 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2557
A: หนังสือ กค 0422.2/ว 212 ลงวันที่ 23 มิ.ย.2554
โรคที่เข้ารับการรักษาใน ร.พ. นั้น ๆ ต้อง ร.พ. เอกชนที่ทำ MOU กับกรมบัญชีกลาง คนไข้ต้องการมีนัดผ่านตัดล่วงหน้า และคนไข้ต้องเป็นตามข้อบ่งชี้ซึ่งแพทย์ ร.พ.เอกชนต้องส่งข้อมูลให้กรมบัญชีกลางพิจารณาว่าจะนัดผ่าตัดได้หรือไม่ หรือคนไข้ต้องมีส่วนร่วมจ่ายด้วย การเบิกค่าผ่าตัดจะเบิกในระบบเหมาจ่าย DRG ถ้ามีใบเสร็จก็ต้องรับภาระเอง
A: หนังสือ กค 0422.2/ว 212 ลงวันที่ 23 มิ.ย.2554
โรคที่เข้ารับการรักษาใน ร.พ. นั้น ๆ ต้อง ร.พ. เอกชนที่ทำ MOU กับกรมบัญชีกลาง คนไข้ต้องการมีนัดผ่านตัดล่วงหน้า และคนไข้ต้องเป็นตามข้อบ่งชี้ซึ่งแพทย์ ร.พ.เอกชนต้องส่งข้อมูลให้กรมบัญชีกลางพิจารณาว่าจะนัดผ่าตัดได้หรือไม่ หรือคนไข้ต้องมีส่วนร่วมจ่ายด้วย การเบิกค่าผ่าตัดจะเบิกในระบบเหมาจ่าย DRG ถ้ามีใบเสร็จก็ต้องรับภาระเอง
A: กรณี ออกจากประกันสังคมแล้วประกันสังคมจะคุ้มครองสิทธิอีก 6 เดือน เมื่อครบกำหนดหมดสิทธิ 6 เดือน จึงจะสามารถใช้สิทธิข้าราชการ
FAQs บำเหน็จบำนาญ
A: ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2527 ข้อ 6 กำหนดให้ข้าราชการที่พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุให้ยื่นคำขอรับบำเหน็จ บำนาญล่วงหน้าได้เป็นเวลา 8 เดือนก่อนวันครบเกษียณอายุ
A: สามารถกู้เพิ่มเติมได้ เนื่องจากเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้รับบำนาญและบรรเทาความเดือดร้อนในการครองชีพ จึงได้ดำเนินการให้ผู้รับบำนาญสามารถกู้เงินเพิ่มในส่วนที่เหลือกับสถาบันการเงินโดยใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้ฉบับเดิมได้ แต่จำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่มรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรองสิทธิ
A: กรณีข้าราชการผู้เสียชีวิตมิได้แสดงเจตนาไว้ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับ ดังนี้
(1) คู่สมรส
(2) บุตร
(3) บิดามารดา
A: กรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย ให้ขอรับเงินช่วยพิเศษได้ภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการ ผู้ซึ่งมีสิทธิรับเงินเดือนตาย
A: ผู้รับบำเหน็จรายเดือนเมื่อถึงแก่ความตายให้จ่ายบำเหน็จตกทอด เป็นจำนวนสิบห้าเท่าของบำเหน็จรายเดือนให้แก่ทายาทหรือบุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนาไว้
A: ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพไม่เกิน 200,000 บาท
A: ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพไม่เกิน 400,000 บาท แต่ถ้าใช้สิทธิรับเงินอายุต่ำกว่า 65 ปีไปแล้วให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิรวมแล้วไม่เกิน 400,000 บาท
A: ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพไม่เกิน 500,000 บาท แต่ถ้าใช้สิทธิรับเงินอายุต่ำกว่า 65 ปี และอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปแล้ว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิรวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
FAQs การจ่ายเงิน
A: ภายใน 5 วันทำการหลังส่งเบิก โดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินเข้าบัญชีให้กับเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินของส่วนราชการโดยตรง
FAQs การจัดซื้อจัดจ้าง
A: หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด กค (กวจ)0405.2/ว 89 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 มีไฟล์แนบ
ความเห็นล่าสุด